วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ผัดกะเพราหมูสับ

ผัดกะเพราหมูสับ






ซัมเมอร์นี้แม่ปูปลูกกะเพราขึ้น ได้เด็ดกินเป็นปีแรก
ปรกติที่ซื้อมาจะมีช้ำๆแซมมาบ้าง
วันนี้เด็ดสดๆจากสวนหลังบ้าน
ใบง๊ามงาม กินด้วยความปลื้มอกปลื้มใจ
วันนี้ขอเมนูสิ้นคิดที่เราๆเคยเรียกล้อกัน..ผัดกะเพราหมูสับ
แต่เมนูสิ้นคิดนี้แหละค่ะ หากใครต้องไกลบ้านไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง
ผัดกะเพราธรรมดาๆก็จะกลายเป็นอาหารสุดหรูขึ้นมาทันที
สเต็กก็สเต็กเถอะน่า สู้ผัดกะเพราเราไม่ได้ร๊อก






มาดูผัดกะเพราหมูสับแม่ปูกันค่ะ
แม่ปูซื้อเนื้อหมูมาแล้วสับเองนะคะ ไขมันจะได้น้อยๆหน่อย
เครื่องปรุงรสก็ประมาณที่แม่ปูจดให้นี้นะคะ
ไม่ได้ตวงเป๊ะๆ ยังไงก็ชิมรสตามชอบแล้วกัน
อ้อ แม่ปูไม่ได้ใส่น้ำปลานะคะ
แค่น้ำมันหอยกับซีอิ๊วขาวก็อร่อยแล้วค่ะ


เนื้อหมูสับ ๓00 กรัม
พริกขี้หนูหรือพริกชี้ฟ้า ๒0 เม็ด (ใส่ตามความชอบเผ็ดมากเผ็ดน้อย)
ใบกะเพรา ๖0 กรัม
ซีอิ๊วขาว ๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ
น้ำมันหอย ๒ ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย ๑/๒ ช้อนชา
น้ำเปล่านิดหน่อย
น้ำมันสำหรับผัด ๒ ช้อนโต๊ะ
กระเทียมสับ ๑ ช้อนโต๊ะ








มาลงมือทำกันได้เลยค่ะ


ตั้งกระทะบนเตาให้ร้อน ใส่น้ำมันพืชลงไป


ใส่พริกกับกระเทียมลงไปผัดพร้อมกันเลย พอพริกกระเทียมเริ่มฉุน
ก็ใส่หมูสับลงผัด ยีให้หมูกระจายไม่ติดกันเป็นก้อน






ถ้าไฟแรงเกินไปลดลงนิดนึง หมูจะได้ไม่จับกันเป็นก้อนนะคะ
พอยีหมูกระจายออกจากกันแล้ว ค่อยเร่งไฟแรงขึ้นอีกที
ผัดทุกอย่างให้เข้ากันดี ถ้ากระทะแห้งไปเติมน้ำเล็กน้อย
ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว น้ำมันหอย น้ำตาล




หมูไม่จับกันเป็นก้อนๆ






พอหมูในกระทะสุกแล้ว ก็ให้โปะใบกะเพราลงไป
ผัดเร็วๆคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน
ขั้นตอนนี้ทำแป๊บเดียวก็พอนะคะ
พอโปะใบกระเพราลงไปผัดสองสามครั้งก็ปิดไฟในเตา
ผักจะได้มีสีเขียวสวยสดน่ารับประทาน








เรียบร้อยแล้ว ปิดไฟในเตาซะ






ตักใส่จานเสิร์ฟร้อนๆ ทอดไข่ดาวอีกสักฟองสองฟอง
แค่นี้ก็เป็นอาหารสุดหรูของคนไกลบ้านแล้วค่ะ







ตักข้าวมาเลยค่ะ แม่ปูจะโปะให้









ขอให้มีความสุขกับสูตรรักสูตรอร่อยจากแม่ปูนะคะ1.ประโยชน์ของกะเพราในฐานะผักและอาหาร

            คนไทยรู้จักกะเพรามานานแล้ว เป็นผักอย่างหนึ่งต้นเล็ก ๆ ใบมีกลิ่นหอม ใช้แกงกินบ้าง ทำยาบ้าง นั่นคือกะเพราในวัฒนธรรมไทย ซึ่งปัจจุบัน ฐานะของกะเพราก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม คือเป็นพืชซึ่งใช้เป็นอาหารและยาได้เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านอีกหลายชนิด  แต่เนื่องจากกะเพรามีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน ชาวไทยจึงไม่นิยมกินกะเพราโดยตรงเหมือนผักชนิดอื่น ๆ  แต่นิยมนำไปเป็นเครื่องปรุงรสชาติและกลิ่นในการประกอบอาหารต่างๆ ตัวอย่างเช่นคนไทยส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงกะเพรา ก็มักจะนึกถึงเมนูหรือรายการอาหารยอดนิยมจากกะเพรานั่นคือ “ผัดกะเพรา (หมู ไก่ เนื้อ )” ร่วมอยู่ในรายการยอดนิยมอย่างหนึ่งเป็นแน่ คงจะจำกลิ่นผัดกะเพราที่ทั้งฉุนตลบอบอวลไปทั่วทั้งร้านและบริเวณใกล้เคียง จนทำให้เกิดเสียงไอจามดังได้เป็นแน่
    กะเพรามีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรงเฉพาะตัว จึงมักนิยมใช้ดับกลิ่นคาวในตำราอาหารไทยเช่น ผัดกบ ผัดปลาไหล ผัดหมู ฯลฯ พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นพวกแกงต่างๆ เช่น แกงเลียงใบกะเพรา สำหรับมารดากินหลังคลอดใหม่ๆ เพื่อขับลมบำรุงธาตุให้ปกติเป็นยาขับน้ำนม นอกจากนี้ยังมีแกงป่า แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงส้มมะเขือขื่น แม้แต่ต้มยำต่างๆ ใส่ใบกะเพราผัดเผ็ดต่างๆทอดใบกะเพราให้กรอบแล้วนำมาโรยหน้าอาหาร ใส่อาหารได้สารพัดนอกจากที่กล่าวมา
    กะเพราจัดเป็นพืชสมุนไพรได้อย่างเต็มตัวชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำราไทยและต่างประเทศ ก็ระบุความเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ของกะเพราเอาไว้หลายด้านเช่น ตำราสมุนไพรไทย บรรยายสรรพคุณด้านยาของสมุนไพรเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น ปวดท้องบำรุงธาตุ แก้จุดเสียดในท้อง ช่วยย่อยอาหาร
    ในตำราสมุนไพรไทย ได้จัดแบ่งสมุนไพรออกเป็นจำพวกต่างๆ รวมทั้งพิกัดอีกมากมาย ในจุลพิกัดซึ่งมีสมุนไพรกลุ่มละ 2 ชนิดนั้น ระบุถึงกลุ่มที่เรียกว่า ”กะเพราทั้ง 2 ” หมายถึง ส่วนราก ต้นใบ ดอก และ ผลของกะเพรา ซึ่งใช้ด้วยกันทั้งหมดในตำรานั้น ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งมีอยู่ 6 ตำรับนั้น มีอยู่ตำรับหนึ่งชื่อว่า”ยาประสะกะเพรา” หมายถึง มีกะเพราเป็นสรรพคุณหลักของกะเพรานั่นเอง
    นอกจากนี้กะเพรายังเป็นส่วนประกอบของยาอีกมากมาย เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทรางเด็ก และยากินให้มีน้ำนมสำหรับมารดาเป็นต้น ในต่างประเทศมีการใช้กะเพราเป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าประเทศไทยเสียอีก โดยเฉพาะในอินเดียถือว่ากะเพราใช้รักษาโรคได้ทุกโรคเลยทีเดียวกะเพราเป็นพืชที่ปลูกง่ายมากชนิดหนึ่งเพื่อแต่โรยเมล็ดลงบนพื้นดินแล้วรดน้ำพอชุ่มชื้นกะเพราก็จะงอกงามได้ดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ :     Ocimum sanctum L.
วงศ์ :                         Labiatae
ชื่ออื่น :                      กอมก้อ  กอมก้อดง  กะเพราขาว  กะเพราแดง

ลักษณะ
ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3
ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบ ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนดอก เป็นแบบช่อฉัตร
ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว
โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม
ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง
ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.
ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก
กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา
ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง
ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว
โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์
แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol
ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
สรรพคุณ
ใบ     ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
          ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
          เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
          สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
          ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
          ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
          ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด  เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
          นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก     ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

           สรรพคุณสำคัญของใบกะเพรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กันทั้งที่ใช้บริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็คือ สรรพคุณขับไขมัน
เคยสังเกตไหมว่า เหตุใดจึงมีตำรับอาหารไทยจำพวกผัดกะเพราเนื้อ กะเพราหมู กะเพราไก
             เหตุผลไม่เพียงแค่ใช้ใบกะเพราดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์เท่านั้น ต่ที่สำคัญคือช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย
             มีงานวิจัยหลายชิ้น หลายสำนักที่กล่าวถึงสรรพคุณอันหลากหลายของใบกะเพรา
ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสรรพคุณที่เชื่อมโยงกับฤทธิ์ลดไขมันและน้ำ ตาลของใบกะเพราเท่านั้น

ฤทธิ์ลดไขมัน
             มีการใช้กะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายได้รับใบกะเพราสดผสมในอาหาร เพียง 1-2 กรัม/กก./วัน
เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อตรวจเลือดสัตว์ทดลองแล้ว พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol)
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)  ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) ลดลงอย่างฮวบฮาบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลตัวเลว
(Low Density Lipoprotein-LDL-Cholesterol) ลดลง พอๆ กับที่ คอเลสเตอรอลตัวดี (High Density-HDL-
Cholesterol) เพิ่มขึ้น
ฤทธิ์ลดน้ำตาล
จากการศึกษาในหนูทดลอง ให้ผงใบกะเพราขนาด 200 มิลลิกรัม/กก./วัน ในหนู 3 ประเภท ได้แก่ หนูปกติ
หนูที่มีภาวะน้ำตาลสูงจากการให้กลูโคส และหนูที่เป็นเบาหวานโดยการทำลายตับอ่อน พบว่า
กะเพราสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองทั้ง 3 ประเภท  นอกจากนี้ น้ำมันหอม ระเหยในใบกะเพรา  
(Basil Essential Oil) ยังช่วยให้กลไกควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นปกติด้วย
แน่นอนเมื่อใบกะเพรามีฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลอย่างมีประสิทธภาพแ ล้ว 
ย่อมมีผลทำให้มวลร่างกายลดลงอย่างเห็นหน้าเห็นหลัง   โดยเฉพาะน้ำตาลนั้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนมากกว่าไขมันเสียอีก
อย่างไรก็ตาม การบริโภคใบกะเพราให้ได้ผลในการลดความอ้วนนั้น จะต้องบริโภคทุกวันให้ถูกวิธี ดังนี้
  1. ความสดของใบกะเพรา ใบกะเพราะสดมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าใบกะเพราที่ปรุงสุกแล้ว หรือถ้าใช้ผงกะเพรา          จะต้องได้จากกระบวนการอบระเหย เอาเฉพาะน้ำออกไปโดยไม่สูญเสีย น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดในใบกะเพรา
  2. ขนาดการใช้  กรณีการใช้กะเพราในคนก็ใช้ในขนาดเท่ากับในสัตว์ทดลองคือ กะเพราสด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน คือถ้าคนหนัก 70 กิโลกรัม ก็ต้องบริโภคใบกะเพราะสด วันละปริมาณ 140-150 กรัม
ถ้าสามารถบริโภคกะเพราตามวิธีข้างต้นรับรองว่า   นอกจากสามารถลดน้ำหนักร่างกายให้ได้ หุ่นสมาร์ทสมใจนึกแล้ว
ยังสมาร์ทอย่างมีสุขภาพดีด้วยเพราะใบกะเพรานั้น นอกจากมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาลแล้ว ยังมีฤทธิ์รักษาโรคเบาหวาน
ลดการทำลายผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน ลดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งป้องกันโรคหัวใจวาย
และโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นจำนวนมากในพลเมืองคนอ้วนทั้งหลาย
ใบกะเพราขับไขมันและน้ำตาล
************************************************************ ***********
 
             ไม่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้นที่รู้จักรับประทานใบกะเพราเป็นอาหารแ ละยา ชาวเอเชียทุกชาติก็รู้จักใบกะเพรา และบางชาติก็รู้จักใช้ประโยชน์จากใบกระเพราดีกว่าคนไทยด้วยซ้ำ
             อย่างเช่น ชาวอินเดียที่บูชาใบกระเพราเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า โฮลลี่ เบซิล (Holy Basil) เพราะนอกจากชาวอินเดียจะใช้ใบกระเพราบูชาเทพเจ้าแล้ว เขายังใช้สมุนไพรตัวนี้ปรุงอาหารประจำวัน ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนไทยที่อาศัยกลิ่นและรสของใบกระเพราดับกลิ่นค าวและชูรสอาหาร และยังใช้น้ำต้มใบกระเพราดื่มช่วยขับลมแน่นในท้อง
             น้ำต้มใบกระเพราะนั้นปลอดภัย สามารถเหยาะ 2-3 หยด ผสมน้ำนม ขนาด 15 ซีซี ให้ทารกดื่มแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อันเป็นสาเหตุให้เด็กร้องไห้โยเย
             สรรพคุณสำคัญของใบกะเพรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กันทั้งที่ใช้บริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็คือ สรรพคุณขับไขมัน เคยสังเกตไหมว่า เหตุใดจึงมีตำรับอาหารไทยจำพวกผัดกะเพราเนื้อ กะเพราหมู กะเพราไก่
             เหตุผลไม่เพียงแค่ใช้ใบกะเพราดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่ที่สำคัญคือช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย
             มีงานวิจัยหลายชิ้น หลายสำนักที่กล่าวถึงสรรพคุณอันหลากหลายของใบกะเพรา ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสรรพคุณที่เชื่อมโยงกับฤทธิ์ลดไขมันและน้ำ ตาลของใบกะเพราเท่านั้น
               
ฤทธิ์ลดไขมัน
             มีการใช้กะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายได้รับใบกะเพราสดผสมในอาหาร เพียง 1-2 กรัม/กก./วัน เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อตรวจเลือดสัตว์ทดลองแล้ว พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol)  ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)  ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) ลดลงอย่างฮวบฮาบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลตัวเลว (Low Density Lipoprotein-LDL-Cholesterol) ลดลง พอๆ กับที่ คอเลสเตอรอลตัวดี (High Density-HDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้น
ฤทธิ์ลดน้ำตาล
             จากการศึกษาในหนูทดลอง ให้ผงใบกะเพราขนาด 200 มิลลิกรัม/กก./วัน ในหนู 3 ประเภท ได้แก่ หนูปกติ หนูที่มีภาวะน้ำตาลสูงจากการให้กลูโคส และหนูที่เป็นเบาหวานโดยการทำลายตับอ่อน พบว่า กะเพราสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองทั้ง 3 ประเภท นอกจากนี้ น้ำมันหอม ระเหยในใบกะเพรา  (Basil Essential Oil) ยังช่วยให้กลไกควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นปกติด้วย
             แน่นอนเมื่อใบกะเพรามีฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลอย่างมีประสิทธภาพแ ล้ว ย่อมมีผลทำให้มวลร่างกายลดลงอย่างเห็นหน้าเห็นหลัง   โดยเฉพาะน้ำตาลนั้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนมากกว่าไขมันเสียอีก
             อย่างไรก็ตาม การบริโภคใบกะเพราให้ได้ผลในการลดความอ้วนนั้น จะต้องบริโภคทุกวันให้ถูกวิธี ดังนี้
 
1.   ความสดของใบกะเพรา ใบกะเพราะสดมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าใบกะเพราที่ปรุงสุกแล้ว หรือถ้าใช้ผงกะเพรา จะต้องได้จากกระบวนการอบระเหย เอาเฉพาะน้ำออกไปโดยไม่สูญเสีย น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดในใบกะเพรา
2.   ขนาดการใช้  กรณีการใช้กะเพราในคนก็ใช้ในขนาดเท่ากับในสัตว์ทดลองคือ กะเพราสด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน คือถ้าคนหนัก 70 กิโลกรัม ก็ต้องบริโภคใบกะเพราะสด วันละปริมาณ 140-150 กรัม
ถ้าสามารถบริโภคกะเพราตามวิธีข้างต้นรับรองว่า   นอกจากสามารถลดน้ำหนักร่างกายให้ได้ หุ่นสมาร์ทสมใจนึกแล้ว ยังสมาร์ทอย่างมีสุขภาพดีด้วย
 
   
 
เพราะใบกะเพรานั้น นอกจากมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาลแล้ว ยังมีฤทธิ์รักษาโรคเบาหวาน  ลดการทำลายผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน ลดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งป้องกันโรคหัวใจวาย และโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นจำนวนมากในพลเมืองคนอ้วนทั้งหลาย

 

สูตรลดน้ำหนัก ลดน้ำหนัก แบบ Raw Food Diet

ลอง Raw Food Diet กันไหม (คู่หูเดินทาง)
          เคยได้ยินชื่อ Raw Food Diet แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แล้วต้องรับประทานอย่างไร ตามไปหาคำตอบกันเลยค่ะ

          การรับประทานอาหารแบบ Raw Food Diet นั้นเป็นขั้นที่เหนือขึ้นไปอีกนอกเหนือจากการรับประทานอาหารรูปแบบมังสวิรัติและทานเจ โดย ใช้วิธีรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนที่สูงกว่า 40 – 42 องศาเซลเซียส เพราะความเชื่อที่ว่าเอนไซม์ที่มีประโยชน์ในการย่อยจะถูกทำลายเมื่ออาหาร ผ่านความร้อนที่สูงเกินไป ทั้งยังทำลายวิตามิน แร่ธาตุและสร้างความเป็นกรดให้อาหาร เมื่อรับประทานเป็นเวลานานกรดเหล่านี้จะทำลายสมดุลภายในร่างกาย

          ดัง นั้น ผู้ที่นิยมการทานอาหารรูปแบบนี้มักเลือกวิธีปรุงอาหารแบบ การอบโดยเตาอบที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และหากเคร่งครัดมากมักลด ละ เลิกการทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น นม เนย ไข่ รวมถึงอาหารแปรรูปและน้ำตาลฟอกขาวด้วย

          วิธี นี้ทำให้น้ำหนักลดได้เป็นอย่างดี เพียงแต่คุณต้องเลือกรับประทานให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของร่างกาย ของคุณควบคู่กันไปด้วย เพราะอย่างไรการเดินสายกลางนั้นย่อมดีที่สุด